จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์สังเขปเขตการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน+3

รายการโทรทัศน์อาเซียน 8.30 น. วันที่ 2ธันวาคม 2553
ให้เสียงบรรยายเป็นภาษาไทยดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
เก็บความ โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

สัญลักษณ์อาเซียน(ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่http://www.vcharkarn.com/varticle/38396 )

ความหมายของสัญลักษณ์

รูปรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศมารวมกัน เพื่อแสดงความเป็นมิตรภาพและน้ำหนึ่งใจเดียวกัน -ขอบแดงสีขาวและน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ -ตัวอักษรคำว่า "asean" สีน้ำเงินอยู่ใต้ภาพ อันแสดงถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน -สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสำคัญที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ และความมั่นคง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง (อ้างจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/38396 ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)

ค.ศ. 1967(พ.ศ.2551)
-ก่อตั้งสมาคมอาเซียน
ค.ศ.1992(พ.ศ. 2535)
-อาเซียนฉลองครบรอบ 25 ปี นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เสนอก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
ค.ศ.1995 (พ.ศ.2548)
-ไทยเป็นประธานจัดประชุมอาเซียนซัมมิต(Asean Summit) ครั้งที่ 5 มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี
-สมาคมอาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก อันดับที่ 7
ค.ศ.1996
-1-2 มีนาคม 1996 มีการประชุม ASEM
-การประชุม ARF(Asean Reginal Forum) และมีการประชุมกันต่อเนื่องทุกปี บางครั้งก็เป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ บางครั้งก็ประชุมอย่างไม่เป็นทางการ
ค.ศ.1997
-ครบรอบ 30 ปี อาเซียน
-วันที่ 23 กรกฎาคม 1997 พม่า ลาว เวียดนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนพร้อมกัน 3 ประเทศ
-สมาคมอาเซียนประกาศวิสัยทัศน์ปี 2020
-สมาคมอาเซียนก่อตั้ง มูลนิธิ อาเซียน (Asean Foundation)
ค.ศ. 1998
-การประชุม 6th Asean Summit ที่กรุง ฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่าง 15-16 ธันวาคม 1998 ประกาศมุ่งหน้าสู่เป้าหมายของFTA


แผนที่กลุ่มประเทศอาเซียน(ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลhttp://www.vcharkarn.com/varticle/38396)

ค.ศ.1999
-กัมพูชาสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนประเทศล่าสุด
-จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะ ประเทศAsean+3
ค.ศ.2000
-ประชุมสุดยอดอาเซียนที่สิงคโปร์ เน้นการมีส่วนรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ค.ศ.2001
-ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บรูไน สร้างสวนอาเซียน
-ต่อสู้และป้องกันโรคเอดส์
-แสดงความกังวลต่อปัญหาการก่อการร้าย
-ตั้งสภาที่ปรึกษาธุรกิจแห่งอาเซียน
ค.ศ. 2002
-การประชุมสุดยอดอาเซียน 4-5 พฤศจิกายน ที่กัมพูชา มีคู่ค้าเข้ามาร่วมมากขึ้น
-มีการประชุม Asean+3 ครั้งที่ 6
-มีการประชุม Asean +India
-มีการประชุมสุดยอดด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
ค.ศ.2003
-การประชุมปฏิญญาอาเซียนครั้งที่2 ที่เกาะบาหลี เน้นความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้วิสัยทัศน์ “เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งในภูมิภาค”
-อาเซียนเดินหน้าเขตการค้าเสรีประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(FTA)และประกาศยอมรับการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ขององค์การการค้าโลก(WTO)
-ลงนามกำหนดให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตปลอดการใช้อาวุธนิวเคลียร์
ค.ศ.2004
-การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 ที่กรุงเวียงจันทร์ กำหนดแนวทางของประชาคมการค้าเสรีอาเซียนอย่างสมบูรณ์
ค.ศ.2005
-การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ระหว่าง 13-14 ธันวาคม 2005
-การประชุมอาเซียน+3 มีประเทศออสเตรเลีย กับ นิวซีแลนด์เข้าร่วม โดยมีรัสเซียเป็นประเทศรับเชิญ
-กำหนด 3 เสาหลักของ ปฏิญญากัวลาสัมเปอร์ คือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
-มีการทำกฎบัตรอาเซียน(Asean Charter) โดยถือว่าเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญแห่งอาเซียน
ค.ศ.2006
-12th Asean Summit ที่เซบู 9-15 มกราคม ประกาศประกาศความเอื้ออาทรและการแบ่งปัน
ค.ศ.2007
-13th Asean Summit ที่สิงคโปร์ เร่งสร้างปฎิญญาอาเซียนให้เสร็จทัน ค.ศ. 2015(พ.ศ.2558)
-วันที่ 10 พ.ศ. 2007 ลงนามกฎบัตรอาเซียน (Asean Charter)อย่างเป็นทางการ
-แผนงานการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนปรากฏอยู่ใน “Asean Economic Blueprint” เน้นความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ค.ศ.2008


ค.ศ.2009
-ประเทศไทยเป็นประธานการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 หัวหิน-ชะอำ เชิญภาคประชาสังคมพลเมืองและนักคิดนักเขียนมาร่วมจัดประชุมภาคประชาชนอาเซียนที่จุฬาลงกรณ์ฯ ภายใต้หัวข้อ “Advancing a Peoples Asean”
-มีการประชุมสุดยอดภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอาเซียน
-การประชุมสุดยอดรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน(ไม่มีจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดียเข้าร่วมประชุมที่พัทยา แต่เข้าร่วมการประชุมที่หัวหิน-ชะอำแทน เนื่องจากปัญหาการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ)
-ประกาศวิสัยทัศน์อาเซียนค.ศ.2009-2015

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น