จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปผลการประชุมอาเซียนซัมมิท ครั้งที่ 14 ตอนการสร้างประชาคมอาเซียน

ชุติมา สุขวาสนะ เรียบเรียง
ชูชาติ เทศสีแดง บรรณาธิการ

ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักข่าวไทยเป็นอย่างยิ่ง http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255203030258&tb=N255203

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป มีการลงนามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ปี ค.ศ.2009-2015 ซึ่งประกอบด้วย 3 เสา คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ทั้งสามประชาคมเสริมสร้างซึ่งกันและกันและยึดโยงอย่างใกล้ชิดเพื่อเป้าหมายที่จะทำให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันในภูมิภาค
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีและเลขาธิการอาเซียนแสวงหาลู่ทางและยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จะขับเคลื่อนทรัพยากรต่างๆ จากรัฐสมาชิก ประเทศคู่เจรจา ประเทศคู่เจรจาเฉพาะด้าน หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอาเซียน ตลอดจนจากประเทศภายนอก เพื่อทำให้ปฏิญญาชะอำ หัวหินฉบับนี้เกิดประสิทธิผล ทันกาล และยั่งยืน

ภาพประกอบจากhttp://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255203030258&tb=N255203 (ขอขอบคุณที่อนุเคระห์ข้อมูล)

ทิศทางในการก้าวสู่การเป็นประชาคม
แนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันของอาเซียนคือ การสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งตัวอย่างมีให้เห็นในยุโรป ที่ทุกวันนี้มีความเป็นชาติน้อยลง แต่มีลักษณะของความเป็นภูมิภาคมากขึ้น หรือที่เรียกว่า สหภาพยุโรป หรือ EU นั่นเอง ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ประเทศสมาชิกยุโรปเหล่านี้ ก็ผ่านอุปสรรคปัญหาที่มีความขัดแย้ง นำไปสู่สงครามใหญ่ๆ หลายครั้ง รวมถึงสงครามโลกที่เกิดขึ้น 2 ครั้ง ก็ล้วนมีต้นเหตุจากความขัดแย้งของกลุ่มประเทศเหล่านี้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย เช่น ความบาดหมาง ไม่ไว้ใจ ลัทธิชาตินิยม เป็นต้น ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากหลายภูมิภาคในโลก แต่ช่วงหลังสงครามเย็น ยุโรปก็มีมาตรการร่วมกันในการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ก้าวข้ามปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ จนในที่สุด ก็สามารถรวมเป็นประชาคม ที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและสังคม ประชากรของประเทศสมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีทุกด้าน

ข้อดีของการเป็นประชาคม
ผลดีของการเป็นประชาคมอาเซียน คือการนำไปสู่ความร่วมมือในการแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆ ระดับชาติ เช่น การก่อการร้าย วันนี้ ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ภูมิภาคนี้ จะไม่ใช่เป้าหมายของการก่อการร้าย เพราะภายหลังเหตุการณ์ ถล่มตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา เมื่อ11 กันยายน 2547 สิ่งที่ตามมาเห็นได้ชัด คือเหตุระเบิดที่บาหลี ,เหตุระเบิดโรงแรมแมริออทที่ จาร์กาต้า และหากเกิดในภูมิภาคอาเซียนอีกครั้ง จะรับมืออย่างไร

ปัญหาแรงงานข้ามชาติ เช่น กรณีผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายชาวโรฮิงญาที่ทำให้ไทยเสียภาพลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างมาก ซึ่งควรเป็นปัญหาของอาเซียน ในการร่วมแก้ไขกรณีการอพยพข้ามถิ่นที่ได้ระบุไว้เป็นกฎหมายของอาเซียนอยู่แล้ว

ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อาเซียนหลีกหนีไม่พ้น เพราะการก่ออาชญากรรมในปัจจุบัน มีการจัดตั้งเป็นครือข่ายข้ามชาติอยู่หลายประเทศ เช่น แก๊งลูกหมู จากจีน, แก๊งลูกแพะจากเอเชียใต้ เป็นต้น

ปัญหาพลังงานภายในอาเซียน ที่ผ่านมา อาจโชคดีอยู่บ้างที่ช่วงปลายปี ราคาพลังงานลดต่ำลง แต่ไม่ได้หมายความว่าในปีนี้ ราคาน้ำมันจะลดต่ำลงตลอด และเป็นเรื่องที่ยังคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องร่วมกันวางแผนไม่ให้มีผลกระทบในระยะยาวด้วย
ปัญหาความขัดแย้งกรณีพิพาทของประเทศสมาชิก เช่น กรณีปราสาทพระวิหารและ ติมอร์ตะวันออก ที่ยังไม่มีความชัดเจน และมีความละเอียดอ่อนต่อผลกระทบด้านความรู้สึกชาตินิยม อาเซียนจะแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้อย่างไร

ทั้งหมดคือปัญหาใหม่ที่เป็นความท้าทายให้ชาติสมาชิกอาเซียนต้องช่วยกันคิด ก้าวข้ามความคลางแคลงสู่ความไว้วางใจกัน ทำอย่างไรจะสร้างแนวคิดใหม่ให้เกิดกับอาเซียน ให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงจัง ก้าวพ้นความเป็นชาตินิยมสู่ความเป็นประชาคม ดังนั้น บทเรียนเหล่านี้อาเซียนต้องเรียนรู้หากอยากสร้างประชาคมอาเซียนเหมือนประชาคมยุโรป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น